ข้อมูลพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE.
ชื่อสามัญ (ไทย) มะค่าโมง เขง , เบง (เขมร – สุรินทร์)
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง
ถิ่นกำเนิด ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทั่วไป
การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทย กระจายพรรณตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณทั่วไป
นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำ สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 ม.
เวลาออกดอก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม
เวลาติดดอก เดือนมิถุนายน-เดือนสิงหาคม
การขยายพันธุ์ ขยายโดยใช้เมล็ด
การใช้ประโยชน์ - เนื้อไม้ใช้ทำเสา ทำไม้หมอนรองทางรถไฟ ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ใช้ทำเครื่องเรือน
เครื่องใช้ชั้นสูง
- เปลือก ให้น้ำฝาด ชนิด Pyrogalool และ Catechol
- เมล็ด เนื้อในเมล็ดอ่อนรับประทานเป็นอาหารได้
ลักษณะวิสัย : ไม้ต้น
เรือนยอด : รูปกรวย ความสูง 15-20 ม.
ถิ่นอาศัย : พืชบก
ลำต้น : ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้
เปลือกลำต้น : แตกเป็นเส้น สี น้ำตาลอ่อน
ยาง : ไม่มี
ชนิดของใบ : ใบประกอบ แบบขนนก ขนนกปลายคู่ สี เขียว ขนาดแผ่นใบ กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-9 ซม.
การเรียงตัวของใบบนกิ่ง : สลับ
รูปร่างแผ่นใบ : รูปไข่
ปลายใบ : มน
โคนใบ : มน
ขอบใบ : เรียบ
ดอก : ดอกช่อ
ตำแหน่งออกของดอก : ตามลำต้นหรือกิ่ง
กลีบเลี้ยง : แยกจากกัน จำนวน 4 กลีบ สี ชมพู
กลีบดอก : แยกจากกัน จำนวน 4 กลีบ สี แดงอมชมพู
เกสรเพศผู้ : จำนวน 3-8 อัน ลักษณะ ก้านเกสรแยกจากกันเป็นอิสระ
เกสรเพศเมีย : จำนวน 1 อัน ลักษณะ มีขนคลุมติดอยู่บนก้าน
กลิ่น : ไม่มี
ผล : ผลแห้ง ผลแก่แล้วแตก ฝักหักข้อ
สีของผล : ผลอ่อน เขียว ผลแก สีน้ำตาลเข้ม
รูปร่างผล : เป็ยหยักแบบแข็งรูปบันทัดสั้นๆ
ลักษณะพิเศษของผล : เมื่อแห้งจะแตดออกเป็น 2 ซีก
เมล็ด : จำนวน 4-5 เมล็ด
สีของเมล็ด : เมล็ดแก่สีดำมัน
รูปร่างเมล็ด : มีเยื่อหนารูปถ้วย